Thursday, June 26, 2008

เช่ารถเมล์ 6,000 คัน ธาตุแท้..คนการเมือง [17 มิ.ย. 51 - 18:04] ไทยรัฐ




ช่างสมกับคำยกย่องรัฐบาลนี้ รู้ลึกรู้จริง คมนาคม...วันนี้ต้องยอมรับท่านรู้จริง
ส่วนจะเอาความเชี่ยวชาญมาแก้ปัญหาให้กับประเทศชาติ ประชาชน หรือหาเงินเข้าพกเข้าห่อให้กับตัวเองและพวกพ้องหรือไม่...เป็นอีกเรื่อง
โครงการเช่ารถเมล์ 6,000 คัน เป็นหลักฐานดี...ทำเพื่อใคร?
เช่ารถเมล์ปรับอากาศใช้ก๊าซเอ็นจีวี 6,000 คัน เป็นระยะเวลา 10 ปี วงเงิน 110,160 ล้านบาท...คิดเฉลี่ยแล้วจ่ายค่าเช่าตกแล้ววันละ 5,100 บาท ต่อวัน
เอาตัวเลขค่าเช่านี้มาจับพิรุธ ดูไม่เป็นธรรมกับท่านผู้นำ เพราะรวมระบบเก็บตั๋วที่เรียกว่า E-Ticket, GPS ไม่ต้องมีกระปี่กระเป๋ามาเก็บค่าโดยสารอีกต่อไป
เฉพาะระบบตั๋วนี่...ตกวันละ 463.19 บาท ต่อคัน
หักลบกลบหนี้แล้วเหลือเป็นค่าเช่าแค่วันละ 4,637 บาท ต่อคัน
จะเป็นรายการเช่ารถแพงเว่อร์เกินจริง...แบบอภิมหาโคตรโกงหรือเปล่า?
“รถเมล์ปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวี เป็นรถจากประเทศจีน ขนาดเดียวกับที่ ขสมก.จะเช่าจำนวน 6,000 คันนี้ ราคาซื้อสดแค่ 1 คัน อยู่ที่ 2.8 ล้านบาท แต่ถ้าซื้อผ่อน หรือเช่าซื้อ เขาจะคิดค่าเช่าซื้อวันละ 2,250 บาท ผ่อนเป็นเวลา 4 ปี หรือ 48 เดือน รถเมล์ตกเป็นของเรา”
นาย บรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก. ยกตัวเลขเปรียบเทียบให้เห็น
เช่าซื้อวันละ 2,250 บาท 4 ปี ได้เป็นเจ้าของรถ
แต่ที่รัฐบาลคิดทำ จะเช่าวันละ 4,637 บาท 10 ปี
จ่ายไปทั้งหมดคันละ 16 ล้านบาท รถไม่ได้ตกเป็นของ ขสมก. แต่อย่างใด...คิดได้ยังไง...ใช้สมองส่วนไหนคิด
เอาตัวเลขนี้มาอ้าง นักการเมืองผู้รู้ลึกด้านขนส่งอ้างได้ว่า เช่าซื้อรถของเอกชนนั้น คิดแต่ค่าผ่อนรถอย่างเดียวกันเลยถูก
แต่รถที่รัฐบาลคิดทำนั้น รวมค่าเช่าอู่ ค่าประกัน ค่าซ่อมรถอยู่ด้วย...ราคาเช่ามันเลยแพงกว่าเช่าซื้อที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้
ถ้าเอาตัวเลขนี้มาคิดรวม นาย บรรยงค์ บอกว่า ค่าเช่าอู่ของเอกชนนั้นคิดกันที่วันละ 100 บาท ค่าประกันภัยวันละ 100 บาท
ส่วนค่าซ่อม รถใหม่ๆ ปีแรกค่าซ่อมจะตกประมาณวันละ 500 บาท ปีที่ 2 ค่าซ่อมจะขยับขึ้นไปเป็นวันละ 600 บาท...ปีที่ 3 วันละ 700 บาท...ปีที่ 4 วันละ 800 บาท
คิดเฉลี่ยแล้วรถ 4 ปี ค่าซ่อมตกวันละ 650 บาท
เมื่อเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปรวมกับค่าเช่าซื้อ ตกเป็นค่าใช้จ่ายวันละ 3,100 บาท...จ่ายเท่านี้ 4 ปี ได้เป็นเจ้าของรถ
“รถที่ซื้อมาราคา 2.8 ล้าน ใช้ไป 5 ปี รถยังเอาไปขายได้ราคาอย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของราคาเดิม”
ขายไปได้เงิน 1.4 ล้านบาท...ทอนราคากลับไป 4 ปี เท่ากับว่าได้เงินกลับคืนมาวันละ 972 บาท
สรุปแล้ว เช่าซื้อง่ายๆแบบเอกชน 4 ปี ได้เป็นเจ้าของรถ เอารถไปขาย...สุดท้ายไม่ได้เป็นเจ้าของรถแบบเดียวกับรัฐบาลกำลังจะทำ
เสียเงินค่าเช่าแค่วันละ 2,182 บาท ต่อคัน
แต่ของรัฐบาล ต้องจ่ายแพงวันละ 4,637 บาท ต่อคัน...แพงกว่ากันถึง 2,455 บาท เรียกว่าเอาเงินส่วนที่แพงเกินไปเช่ารถเพิ่มได้อีกคัน ก็ยังเหลือ
ที่สำคัญ ราคาที่นำมาคิดคำนวณเปรียบเทียบให้เห็นนี้ เป็นราคาซื้อรถเมล์ ปรับอากาศ 1 คัน ราคา 2.8 ล้านบาท
ไม่ใช่สั่งซื้อทีเดียว 6,000 คัน...ซื้อเหมายกกุรุส ไม่ใช่เหมาโหล ซื้อมากขนาดนี้ คนที่รู้ลึกรู้จริงเรื่องขนส่งคมนาคม ต้องรู้ว่าสามารถต่อรองราคาให้ ลดลงได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์
รถราคา 2.8 ล้าน...จะลดลงมาเหลือแค่ 2 ล้านบาท ราคาค่าเช่าซื้อรายวันก็จะลดลงไปอีก จากวันละ 2,250 บาท
เหลือแค่ 1,600 บาทเท่านั้นเอง...(อัตราผ่อนเช่าซื้อรถเมล์รวมดอกเบี้ย คนในวงการจะคิดในอัตรา 1 ล้านบาท ผ่อนวันละ 800 บาท เป็นเวลา 4 ปี)
ราคาค่าเช่ารถเมล์ 6,000 คัน...จะอยู่ที่วันละ 1,532 บาท ต่อคัน
แถมค่าเช่าราคาใช้ครบ 4 ปี ขายทิ้ง เปลี่ยนรถใหม่
มีรถใหม่วิ่งทุก 4 ปี...ไม่ใช่ปล่อยให้เก่าคร่ำครึนานเป็น 10 ปี เหมือนที่คิดกัน
“แสดงให้เห็นชัด รัฐบาลไม่ได้มีความตั้งใจจะปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ขสมก. มีอย่างที่ไหนจะปรับปรุงประสิทธิภาพ แต่ดันเอาเงิน เอาจำนวนรถ 6,000 คัน มาเป็นตัวตั้ง
ถ้ามีเจตนาจะปรับปรุงจริง สิ่งแรกที่ควรทำ ต้องเอาจำนวนเส้นทางรถเมล์ที่มีการวิ่งทับซ้อน แย่งผู้โดยสาร แย่งกันเผาน้ำมัน จนเป็นเหตุให้ ต้นทุนค่าโดยสารแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น มาเป็นตัวตั้ง
ได้จำนวนเส้นทางที่จะปรับปรุงลดการวิ่งทับซ้อน แล้วสำรวจจำนวนผู้โดยสารแต่ละเส้นทาง มาว่ามีเท่าไร จากนั้นถึงจะรู้ว่า เราควรจะใช้รถกี่คัน ได้จำนวนรถแล้ว ถึงจะมาว่ากันเรื่องงบ ประมาณ ส่วนจะซื้อจะเช่าค่อยมาว่ากันทีหลัง แต่นี่คิดแบบกลับหัวกลับหาง”
นาย บุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะ ให้ความเห็นในฐานะผู้เสนอไอเดีย ให้กระทรวงคมนาคมปรับปรุงการเดินรถเมล์ใหม่ ซื้อรถเมล์ใหม่แค่ 4,000 คัน คิดค่าโดยสาร 20 บาท ใช้บริการนั่งรถเมล์ได้ทุกสาย นั่งได้ทั้งวัน ที่เรียกกันว่า ONEDAY PRICE
แต่นักการเมืองกลับบิดเบือนหลักการจากซื้อรถเป็นของตัวเอง... มาเช่ารถที่จ่ายแพงไปก็ไม่ได้เป็นเจ้าของรถ
“แปลกจริงๆ มีที่ไหนในโลก คุณเช่ารถเขามาแล้ว ต้องจ่ายค่าซ่อมรถให้เขาทำไม จะต้องมาจ่ายค่าประกันทำไม และจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถให้กับเจ้าของรถเช่าทำไม ในเมื่อไม่ได้เช่าซื้อผ่อนรถมาเป็นของตัวเอง”
รายการที่รังสรรค์ปั้นค่าเช่าอภิมหาแพงนั้น ค่าซ่อมวันละ 1,359 บาทต่อคัน...ค่าดอกเบี้ยที่เจ้าของรถเช่าไปกู้ซื้อรถมาให้เช่า วันละ 744.01 บาทต่อคัน...ค่าประกันภัย วันละ 30.94 บาทต่อคัน
“เช่ารถอะไรที่มีรายการจ่ายยุบยิบขนาดนั้น ปกติการเช่ารถทั่วไป รถผู้บริหารบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ รถราคา 1.3 ล้านบาท คิดกันเดือนละ 28,000 บาท หรือวันละ 934 บาท จ่ายแค่นี้เอง ค่าประกัน ค่าซ่อม บริษัทให้เช่ารถต้องเป็นคนออก ไม่ใช่ให้คนเช่าออก
นี่ขนาดว่าค่าเช่าแพง...แพงแล้วนะ รถ 1.3 ล้าน ค่าเช่าวันละไม่ถึงพัน ถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับราคา รถเมล์คันละ 2.8 ล้าน ค่าเช่าก็แพงขึ้นเท่าตัวก็แค่วันละ 1,868 บาทเท่านั้น
แถมราคานี้รถจะชน จะซ่อม ไม่เพียงเราไม่ต้องจ่าย คนให้เช่าต้องหารถคันใหม่มาเปลี่ยนให้เราใช้ด้วย เคยถามผู้บริหาร ขสมก.ว่า เช่ามาทำไมตั้งมากมาย 6,000 คัน
เขาบอกว่าเช่ามาเผื่อ จะเผื่อไปทำไม รถจะเสีย จะซ่อม จะพัง เขาต้องหารถมาเปลี่ยนให้เรา เอกชนมีหน้าที่ไปซื้อรถมาเผื่อ ไม่ใช่เราไปเช่าเผื่อให้เขา”
เพราะคิดกันอย่างนี้ ฉลาดแบบนี้...บ้านเมืองมันถึงได้เป็นอย่างนี้
คิดแล้วกลุ้ม ไปเสพเมถุนดีกว่า.

Wednesday, June 18, 2008

Can you guys add this tools gadget to your iGoogle home page?

http://www.google.co.th/ig/directory?url=www.google.com/ig/modules/toolspromo.xml

I was asked to create this gadget, so please add it, and rate it!

Another similar one is coming soon.

Monday, June 16, 2008

โดยราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ พุ่งทะยานขึ้นไปแตะระดับสูง สุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ (นิวไฮ) ที่ 139.89 ดอลลาร์ ก่อน ขยับลงมาปิดที่ 134.61 ดอลลาร์ ลดลง 25 เซนต์...

I don't understand why Thairath.co.th gotta have a transliteration (นิวไฮ)? What the hell?

Sunday, June 15, 2008

Saturday, June 14, 2008

Why study history?

To learn from the past, and avoid the same mistake.

I guess some of us haven't studied history..

Wasn't it in our textbook that the fall of Ayutthaya was caused by internecine conflicts? And why some of us are about to make the same mistake?